รู้หรือไม่ “ออฟฟิศซินโดรม” (Office Syndrome) ประกันสุขภาพเคลมได้นะ ออฟฟิศซินโดรม โรคฮิตที่ไม่ได้เกิดแค่กับคนที่เป็นพนักงานออฟฟิศแต่เพียงเท่านั้น ยังรวมไปถึงคนที่ชอบทำงาน คนที่นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงคนที่ชอบนั่งท่าเดิม เพราะออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อที่มาจากการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมแบบซ้ำๆ คนส่วนมากมักจะเป็นโรคนี้เพราะว่านั่งท่าเดิมนาน ไม่ได้ขยับร่างกาย จนทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตาม คอ บ่า ไหล่ หรือว่าหลัง บางทีอาจจะลามไปจนถึงนิ้ว มือชา หรือว่านิ้วล็อคได้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมโรคออฟฟิศซินโดรมจึงกลายมาเป็นโรคฮิตของคนคลั่งงาน แต่ทว่าเรามี 7 วิธีรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมมาฝาก ว่าต้องทำอย่างไร รักษาแบบไหนอาการถึงจะดีขึ้น แต่ถ้ามีประกันสุขภาพ ก็สามารถไปหาหมอเบิกค่ารักษาได้ตามจริง
แต่ถ้าคุณยังไม่มีประกันสุขภาพ คิดว่าไลฟ์สไตล์เสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรม แนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพไว้เลย และเพื่อความคุ้มค่า เราแนะนำเป็นแบบ ประกันสุขภาพ เหมาจ่าย เพราะประกันสุขภาพ เหมาจ่าย TQM จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เยอะ มีประกันภัยสุขภาพไว้ยังไงก็อุ่นใจกว่าแน่นอน แถมเบี้ยประกันสุขภาพยังไม่แพงมาก ซื้อประกันสุขภาพ เหมาจ่ายไปได้เลย นอกเหนือจากโรคออฟฟิศซินโดรมแล้ว ยังคุ้มครองโรคอื่นอีกด้วย อย่ารอช้าไปดูกันดีกว่าว่าวิธีรักษาออฟฟิศซินโดรมจะมีอะไรบ้าง
7 วิธีรักษา ออฟฟิศซินโดรม
1. ทำกายภาพบำบัด
วิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของการแก้อาการออฟฟิศซินโดรมก็คือการทำกายภาพบำบัด เพราะการทำการภาพบำบัดในสมัยนี้มีหลายวิธีด้วยกัน ที่จะช่วยทำให้อาการปวดหลัง คอ บ่า หรือไหล่ ของคุณรู้สึกดีขึ้น เนื่องจากการภาพบำบัดจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อของคุณผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการทำกายภาพบำบัดยังช่วยรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมได้ทุกส่วนต่างๆ ของร่างกาย มาพร้อมกับอุปกรณ์มากมาย อย่างเช่น เครื่องอัลตร้าซาวนด์ เครื่องดึงคอ หรือมีท่าการบริหาร ที่จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อของคุณคลายตัว และมีอาการที่ดีขึ้น
2. ฝังเข็ม
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าการฝังเข็ม ก็เป็นอีกหนึ่งการรักษาที่ได้รับความนิยมมาก ถ้าหากคุณเป็นออฟฟิศซินโดรมก็อยากให้ลองไปฝังเข็มดู เพราะการฝังเข็มไปยังบริเวณจุดต่างๆ จะช่วยทำให้ร่างกายคุณสมดุลมากยิ่งขึ้น ซึ่งการฝังเข็มนี้เป็นศาสตร์ธรรมชาติบำบัดอย่างหนึ่ง และเป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกของจีน โดยหลักการของการฝังเข็มคือการฝังเข็มลงไปยังบริเวณที่ปวด หรือบริเวณที่จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้บรรเทาอาการเจ็บป่วยไปได้มาก แต่อย่างไรก็ตามการฝังเข็มเป็นแค่ศาสตร์หนึ่งที่ช่วยรักษาทำให้อาการดีขึ้น แต่ไม่ใช่การรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบัน ดังนั้นหากใครที่ซื้อประกันสุขภาพไว้ อย่างไรก็ตามประกันสุขภาพ อาจจะยังไม่ครอบคลุมในเรื่องนี้ หรือพูดง่ายๆ คือ ประกันสุขภาพ เคลมการรักษาแบบฝังเข็มไม่ได้นั่นเอง
3. บริหารร่างกายด้วยท่าที่ถูกต้อง
ทำประกันสุขภาพ เหมาจ่าย และรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันกับอาการออฟฟิศซินโดรมอาจจะยังไม่พอ เพราะคุณจะต้องทำท่ากายบริหารร่างกายด้วยตนเองด้วย แม้ว่าคุณจะไปทำกายภาพบำบัด หรือฝังเข็มที่เป็นเวชศาสตร์ทางเลือกมาแล้วก็ตาม เนื่องจากเวลาที่คุณนั่งทำงานด้วยท่าเดิมซ้ำๆ ไม่มีการยืดเส้นยืดสาย ก็ทำให้อาการออฟฟิศซินโดรมนั้นกลับมาเป็นอีกซ้ำ หรือทำให้อาการไม่ดีขึ้น ดังนั้นควรทำท่ากายบริหาร อย่างเช่น การยืดกล้ามเนื้อต้นแขน การบริหารหัวไหล่ หรือวิธีการบริหารมือ นอกเหนือจากจะช่วยคลายกล้ามเนื้อได้ดี ยังช่วยลดอาการเครียดระหว่างการทำงานได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้เวลาไม่นาน และคุณสามารถทำได้ด้วยตัวคุณเองด้วย
4. ปรับสภาพแวดล้อมโต๊ะทำงาน
อย่างแรกเลยที่หลายคนอาจจะคิดว่าไม่สำคัญ แต่แท้ที่จริงแล้วสำคัญมาก คือสภาพแวดล้อมของโต๊ะทำงาน หรือบริเวณที่คุณนั่งทำงานอยู่เป็นประจำ เพราะทั้งส่วนสูงของโต๊ะ เก้าอี้ หรือแม้แต่แสงไฟก็ต้องสว่างให้เพียงพอ และเหมาะสม เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะมีอาการอื่นๆ ตามมาด้วยไม่ใช่แค่ออฟฟิศซินโดรม คือการแสบตา เวียนหัว หรือว่าปวดขา อันเกิดมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการปรับสภาพแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ไม่ควรละเลย และถ้าหากคุณเริ่มมีอาการปวดหลัง ทำงานแล้วเมื่อยล้า ปวดบ่า เมื่อยคอย หรือว่าตาเริ่มแห้งและแสบ แนะนำให้ปรับสภาพแวดล้อมก่อนเลย
5. การปรับท่านั่งให้ถูกต้อง
สำหรับการปรับท่านั่งให้ถูกต้องนั้น ไม่ใช่ปรับท่านั่งให้เป็นที่ท่าสบายที่สุดสำคัญคุณ แต่เป็นการปรับท่านั่งให้ถูกต้องตามหลักกายรศาสตร์ เวลานั่งควรนั่งให้ตัวตรง หลังไม่ค่อม หาที่วางพักเท้า และปรับหน้าจอให้พอดีกับระดับสายตา ซึ่งการนั่งนั้นสำคัญมาก และส่งผลโดยตรงกับอาการออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการนั่งนั้น จะส่งผลการกดของน้ำหนักร่างกายมากกว่าท่ายืน ในระหว่างที่นั่งทำงานให้ถูกท่าแล้วนั้น ก็ควรที่จะเปลี่ยนท่า และลุกขึ้นยืน หรือเดินบ้าง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อบ้าง ไม่อย่างนั้นอาการออฟฟิศซินโดรมยังไงก็ถามหาแน่นอน
6. ออกกำลังกาย
ยิ่งเป็นออฟฟิศซินโดรมก็ยิ่งต้องออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพได้เป็นอย่างดี ซึ่งการออกกำลังกายสำหรับชาวออฟฟิศซินโดรมนั้น จะต้องเน้นการออกกำลังกายที่ช่วยยืดเส้นยืดสาย พร้อมกับการสร้างความหยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ อย่างเช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือว่าการเล่นโยคะ ก็จะช่วยทำให้อาการออฟฟิศซินโดรมของคุณดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายนั้นจะต้องไม่หักโหมจนเกินไปนัก แล้วอย่าลืมวอร์มร่างกายก่อนการออกกำลัง ก็จะช่วยให้อาการออฟฟิศซินโดรมของคุณดีขึ้นได้อย่างแน่นอน
7. ใช้คลื่นไฟฟ้า Shock Wave
เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะใช้รักษาออฟฟิศซินโดรม เพราะช่วยได้เป็นอย่างดีกับการรักษาอาการปวดแบบเรื้อรัง เหมาะกับคนที่เป็นออฟฟิศซินโดรมมาแล้วในระยะเวลานาน และอาจจะไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงที โดยการรักษาด้วยเครื่อง Shock Wave เป็นการรักษาที่ใช้คลื่นกระแทก คล้ายๆ กับคลื่นเสียงที่ใช้รักษานิ่วในไต ซึ่งหลักการคือใช้คลื่นกระแทกกระตุ้นในบริเวณที่เกิดการอักเสบ หรือบริเวณที่เกิดความเจ็บปวด ให้เกิดกระบวนการเร่งการซ่อมแซม นอกจากจะลดอาการปวดแล้ว ยังช่วยให้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งหากเป็นการรักษาโดยแพทย์ การรักษา Shock Wave สามารถเคลมหรือเบิกประกันสุขภาพได้
ถ้าหากว่าคุณเป็นออฟฟิศซินโดรมแล้วมีอาการปวดอย่างรุนแรง หรือส่งผลต่อการดำเนินชีวิต จำเป็นที่จะต้องนั่งทำงาน แต่ก็ปวดหลังด้วย แนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดทา แผ่นประคบ แผ่นเจล หรือแม้แต่การรับประทานยาแก้ปวดก็ช่วยได้เป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้การรับประทานยา อาจจะต้องทำควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด การทำกายบริหาร หรือคอยหมั่นคลายกล้ามเนื้อ ไม่ให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือเกิดการอักเสบไปมากกว่าเดิม ทั้งนี้การรับประทานยาแก้ปวด คุณสามารถไปหาหมอ แล้วใช้ ประกันสุขภาพ TQM เพื่อให้หมอจ่ายยาให้ได้ แต่การรับประทานยาอย่างเดียวไม่สามารถทำให้หายจากอาการออฟฟิศซินโดรมได้ จะต้องทำสิ่งเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย แต่รับรองว่าอาการออฟฟิศซิมโดรมจะดีขึ้นอย่างแน่นอน