HOT SHOCK ร้อนนี้อย่าให้ร้ายถึงชีวิต โรคฮีทสโตรก Heat Stroke หรือโรคลมแดด อันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อนคือสภาวะที่ร่างกายจะคายความร้อนออกมาในรูปแบบของ “เหงื่อ” แต่ร่างกายไม่เพียงแค่ขับน้ำยังขับ “เกลือแร่” ออกมาด้วย ทำให้ความเข้มข้นของเลือดยังคงเป็นปกติ เราจึงไม่รู้สึกหิวน้ำ กว่าจะรู้ตัวว่าร่างกายขาดน้ำ ก็ต่อเมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้จนอาจกลายเป็นโรคฮีทสโตรกแบบไม่ทันตั้งตัว
ฮีทสโตรก อาการเป็นอย่างไร
รู้ได้ยังไงว่าตัวเอง หรือ คนใกล้ตัวกำลังเสี่ยงกับ โรคฮีทสโตรก Heat Stroke ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง มีอาการปวดศีรษะบ่อยครั้งเมื่อเจออากาศร้อนมากๆ คลื่นไส้อาเจียน กระหายน้ำ หายใจเร็ว ตัวร้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีเหงื่อออก อาการเพ้อ เห็นภาพหลอน พูดจาไม่รู้เรื่อง ต้องทำการปรับอุณหภูมิร่างกายโดยด่วน ก่อนจะเกิดภาวะช็อก เพราะอวัยวะภายในล้มเหลวได้
แม้แต่คนที่นั่งทำงานในห้องแอร์ก็เสี่ยงเป็นโรคฮีทสโตรกได้ ด้วยอุณหภูมิร่างกายที่คุ้นชินกับอากาศเย็นของห้องแอร์ เมื่อออกมาเจอแดดแรงๆ หรืออุณหภูมิที่สูงขึ้นในช่วงเวลาพักกลางวัน อาจเป็นสาเหตุ ทำให้ “ช็อก” เพราะร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน
ฮีทสโตรก เสียชีวิต
ในต่างประเทศมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวนไม่น้อยทั้งที่อากาศเย็นกว่าเมืองไทย เราจึงควรหันมาตระหนักและช่วยกันระมัดระวังโรคฮีทสโตรกในช่วงฤดูร้อนนี้เป็นอย่างมาก โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยการหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลี่ยงที่จะอยู่ที่อากาศร้อนเกินไป และควรดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำ
ด้วยความปรารถนาดีจาก รพ. พญาไท1
- สอบถามและปรึกษาเบื้องต้นได้ที่ศูนย์สมอง และระบบประสาทโรงพยาบาล พญาไท 1
- https://www.facebook.com/phyathai1
- Lind ID : https://lin.ee/SqpR4lE